วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์(โสตทัศนูปกรณ์)
                สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ (audio –visual equipments ) มี หน้าที่หลัก คือการฉายเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ ขยายเสียงให้ดัง เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปมากมีรูปลักษณะเล็กน้ำหนักเบา แต่สามารถใช้งานได้หลายมิติ เช่น ต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นได้หลายทาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการและอ้านวยความสะดวกในการรับรู้ของ มนุษย์ ดังนั้นการน้าอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ความหมายของโสตทัศนูปกรณ์
                โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึงอุปกรณ์ที่มีลักษณะใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องยนต์ กลไกลไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านขยายเนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นสามารถ กระตุ้นการรับรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
                โสตทัศนูปกรณ์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Audio-Visual Equipments และมาจากคำประสมดังนี้
โสตะ (การได้ยิน)    +    ทัศนะ (การมองเห็น)    +    อุปกรณ์
                                                     Audio                              Visual
ประเภทของสื่ออุปกรณ์
                สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
                1.เครื่องฉาย (Projectors)
                2.เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (connected Equipment)
                2.เครื่องเสียง (Amplifiers)
เครื่องฉาย
เครื่อง อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียงเครื่องฉายเครื่องฉาย เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ เครื่องฉายที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector)  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายแอลซีดี (LCD projector) เครื่องฉายสไลด์ (slide projector) นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer) เป็นต้น
1.ส่วนประกอบของเครื่องฉาย
                เครื่องฉายทุกชนิดที่ไม่ใช่เครื่องฉายแปลงสัญญาณ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย เลนส์ และจอ
                1.1หลอดฉาย (projectors lamp)
                                1.1.1 ประเภทของหลอดฉาย หลอดฉายเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ให้ภาพไปปรากฏบนจอ หลอดฉายที่ใช้อยู่กันในปัจจุบันมี 3 ชนิด ได้แก่
                                                1) หลอดอินแคนเดสเซนต์ (incandescent lamp) เป็นหลอดฉายแบบเก่ามีขนาดใหญ่ ภายในหลอดบรรจุด้วยไนโตรเจนหรืออาร์กอน ไส้หลอดทำด้วยทังสเตน ให้ความร้อนสูง อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 10 ชั่วโมง หลอดชนิดนี้มีใช้อยู่ในเครื่องฉายรุ่นเก่าๆเท่านั้น
                                                2) หลอดฮาโลเจน (halogen lamp) มีขนาดเล็กกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ตัวหลอดทำด้วยหินควอร์ท(quartz)ทนความร้อนได้ดี ภายในหลอดบรรจุด้วยสารฮาโลเจนและไอโอดีน ให้แสงสว่าง ขาวนวล สดใส อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 50 ชั่วโมง หลอดชนิดนี้ใช้กับเครื่องฉายไลส์ เครื่องฉายภาพยนตร์ ไฟฉายวีดีทัศน์ เครื่องฉายข้ามศีรษะเป็นต้น
                                                3) หลอดซีนอนอาร์ค (zenon arc lamp) มีลักษณะเป็นหลอดยาวตรงกลางโปร่งออก ภายในบรรจุด้วยก๊าซซีนอน แสงสว่างเกิดจากอนุภาคของไฟฟ้าจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้นหนึ่ง ให้แสงสีขาวแรงจัดมาก หลอดชนิดนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทนแทนการอาร์คด้วยแท่งถ่านซึ่งต้องปรับระยะ ของถ่านชดเชยการสึกกร่อนอยู่ตลอดเวลา หลอดชนิดนี้ใช้กับฉายระยะใกล้ๆให้เห็นภาพขนาดใหญ่ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ 35.. หรือ 75.. เป็นต้น
           1.1.2 ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับหลอดฉาย การใช้หลอดฉายให้มีอายุการใช้งานนานตามคุณสมบัติเฉพาะของหลอดฉายแต่ละชนิดควรปฏิบัติดังนี้
                                                1) เมื่อจะสัมผัสหลอดฉายต้องใช้ผ้านุ่มๆรองมือก่อนจับหลอดฉายเสมอ
                                                2) ตรวจรูปลักษณะ ขนาด ฐานหลอด วัตต์ ให้เหมือนกับหลอดเดิม
                                                3) ใส่หลอดฉายให้แน่นกระชับ
                                                4) อย่าให้หลอดฉายกระเทือน
                                                5) ให้พัดลมเป่าหลอดฉายให้เย็นก่อนถอดปลั๊กไฟทุกครั้ง
   1.2 แผ่นสะท้อนแสง (reflectors)
                                1.2.1 ลักษณะของแผ่นสะท้อนแสง แผ่นสะท้อนแสงส่วนมากทำด้วยโลหะฉาบผิวด้วยวัสดุสะท้อนแสง เช่น เงินหรือปรอท ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอดฉายไปรวมกับแสงด้านหน้า ทำให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่า ตำแหน่งการติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงมีหลายลักษณะต่างกัน เช่น ติดตั้งอยู่ภายในหลอด ติดตั้งไว้ภายนอกหลอด หรือติดเป็นครึ่งวงกลมครอบหลอด
เป็นต้น
หลอดฉาย
                                    
แผ่นสะท้อนแสง 
1.2.2 ข้อควรระวังเกี่ยวกับแผ่นสะท้อนแสง
          1) อย่าใช้มือจับแผ่นสะท้อนแสง
           2) อย่าให้แผ่นสะท้อนแสงมีรอยขีดข่วน
           3) ต้องใช้ผ้านุ่มๆเช็ดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเมื่อต้องการทำความสะอาด
1.3 วัสดุฉาย (Projected Materials)
                วัสดุฉายเป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และสัญญาลักษณ์ ต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอ ได้แก่ ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส รูปภาพทึบแสง วัสดุฉายมีหลายชนิดดังนี้
              1.3.1 วัสดุโปร่งใส (transparent materials) หมายถึงวัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้โดยไม่เกิดการหักเหหรือสะท้อนภายใน วัสดุนั้นเลย เช่น แผ่นโปร่งใส พลาสติกใส กระจกใส กระดาษแก้วเป็นต้น
              1.3.2 วัสดุโปร่งแสง (translucent materials) หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้ แต่จะเกิดการหักเหบ้าง ทำให้ปริมาณของแสงสว่างลดน้อยลง ตัวอย่างวัสดุประเภทนี้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษทาน้ำมัน กระดาไขเขียนแบบ เป็นต้น
              1.3.3 วัสดุทึบแสง (opaque materials) หมายถึงวัสดุที่แสงไม่สามารถส่องผ่านได้เลย แสงสว่างที่ตกกระทบจะสะท้อนกลับทั้งหมด เช่น กระดาษโรเนียว แผ่นโลหะ ไม้ หิน เสื้อผ้าหนาๆ แผ่นหนังสัตว์ ดินเหนียว
1.4 เลนส์ (Lens)  เลนส์ เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้วหรือ พลาสติกใสมีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบเลนส์ทำให้ภาพถูกขยาย เลนส์ในเครื่องฉายมี 2 ชุด คือ เลนส์ควบแสง (condenser lens) และเลนส์ฉาย (projected lens)
             1.4.1 เลนส์ควบแสง ทำหน้าที่เฉลี่ยความเข้มของแสงให้ตกบนวัสดุฉายอย่างสม่ำเสมอ ในชุดของเลนส์ควบแสงยังมีกระจกใสกรองความร้อน (heat filter) จากหลอดฉายป้องกันไม่ให้วัสดุฉายร้อนมากเกินไป
             1.4.2 เลนส์ฉาย ทำหน้าที่ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่เต็มจอ คุณสมบัติพิเศษ 2 ประการคือ การกลับหัวภาพ (inversion) และระยะโฟกัส (focus length) ที่จำกัด กล่าวคือเลนส์ฉายแต่ละตัวจะให้ภาพคมชัดในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น
                ภาพที่ฉายออกมาจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ ระยะโฟกัสของเลนส์ฉาย และระยะทางระหว่างเครื่องฉายกับจอ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพที่ปรากฏจึงทำได้โดยการเปลี่ยนเลนส์ให้มี ความยาวโฟกัสที่เหมาะสม และการเคลื่อนย้ายเครื่องฉายให้เข้าใกล้หรือออกห่างจากจอตามต้องการ
1.5 จอ (Screen)
            1.5.1 ชนิดของจอ จอเป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่างๆจำแนกได้ 2 ชนิดใหญ่ๆคือ จอทึบแสง และจอโปร่งแสง
                      1) จอทึบแสง (opaque screen) เป็นจอที่รับภาพจากด้านหน้า จอชนิดนี้จะฉาบผิวหน้าจอด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงต่างๆกัน ดังนี้
                - จอพื้นทรายแก้ว ผิวหน้าจอฉาบด้วยเม็ดแก้วละเอียด ทำให้สะท้อนแสงได้ดีมาก และได้ไกล จอชนิดนี้ จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องแคบๆ
                - จอผิวเรียบหรือจอผิวเกลี้ยง ผิวหน้าของมีสีขาวเรียบแต่ไม่เป็นมัน ให้แสงสะท้อนปานกลาง จอนี้จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัตหรือ ห้องเรียนทั่วๆไป สามารถมองเห็นตัวอักษรได้ชัดเจน
                - จอเงิน ทำด้วยพลาสติกหรืออลูมิเนียมใช้ในการฉายภาพสีและวัสดุ 3มิติ
                - จอเลนติคูล่า มีผิวจอทำด้วยพลาสติกที่เรียกว่า เฮฟวี่พลาสติก เหมาะกับห้องกว้างและขนาดใหญ่
                - จอ เอ็คต้าไลท์ ทำด้วยโลหะหรือไฟเบอร์กลาส น้ำหนักเบา ผิวโค้ง สีมุกเป็นมันสะท้อนแสงได้ดี ใช้ในห้องที่มีแสงสว่างตามปกติได้ แต่ไม่เหมาะกับเครื่องฉายข้ามศีรษะ
                         2) จอโปร่งแสง (translucent screen) เป็นจอที่ทำจากวัสดุโปร่งแสง ฉายในห้องที่มีแสงสว่างปกติได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า จอฉายกลางวัน (day light screen) จอโปร่งแสงมี 2 ชนิด คือ
 - จอฉายสะท้อนกระจกเงา
- จอฉายภาพผ่านโดยตรง
            1.5.2 การติดตั้งจอ ลักษณะของภาพที่ปรากฏบนจอจะส่งผลต่อการรับรู้และเจตคติของผู้ชมการติดตั้งจอให้มีประสิทธิภาพควรยึดหลักดังนี้ คือ
                    1) ไม่ควรให้แสงสว่างผ่านเข้าด้านหลังจอโดยตรง
                     2) ขอบด้านล่างของจอควรอยู่ระดับสายตาของผู้ชม
                     3) จอกับเลนส์ควรอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากซึ่งกันและกันไม่สูงไม่ต่ำ ไม่เยื้องซ้าย เยื้องขวา กับเครื่องฉาย
            1.5.3 ปัญหาการติดตั้งจอไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้รูปที่ปรากฏมีลักษณะบิดเบี้ยว สัดส่วนผิดแปลกจากธรรมชาติ
2) ตัวอย่างเครื่องฉาย 
  2.1 เครื่อง ฉายข้ามศีรษะ เครื่องมือที่ใช้กับผู้เรียนการสอนมาเป็นเวลานานมีหลายรูปแบบปัจจุบันก็ยัง มีใช้อยู่อย่างแพร่หลายในสถานศึกษาทั่วไป
     2.1.1 ส่วนประกอบของเครื่องฉายข้ามศีรษะ มี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนประกอบภายใน และส่วนประกอบภายนอก
          1) ส่วนประกอบภายนอก ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
 - ตัว เครื่องฉาย มีลักษณะเป็นกล่อง ทำด้วยโลหะ ด้านบนเป็นแผ่นกระจกสำหรับวางวัสดุฉาย มุมด้านบนสำหรับสำหรับติดตั้งหัวฉาย ด้านหลังมีสายไฟและสวิตช์ควบคุมการทำงาน
- แขน เครื่องฉายและหัวฉาย เป็นเสาประกบติดกับเครื่องฉาย มีไว้สำหรับยึดหัวฉายซึ่งสามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้ด้วยปุ่มหมุนที่มีแกน เป็นเฟือง
- อุปกรณ์การฉายพิเศษ เทคนิคการนำเสนอแผ่นโปร่งใสแบบวัตถุเคลื่อนไหว หรือ เรียกว่า โพลาไรซิ่ง ทรานส์พาเรนซี่ (polarizing transparency) 

- แท่นวางวัสดุฉาย เป็นแผ่นกระจกใสวางในระนาบแนวนอนอยู่เหนือเลนส์ควบแสงหรือเลนส์เกลี่ยแสงซึ่งอยู่ในเครื่องฉาย 
- เลนส์ฉาย เป็นเลนส์นูนที่อยู่ในหัวฉายทำหน้าที่ ขยายภาพตัวอักษรหรือวัสดุฉายอื่นๆ ให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏที่จอ 
- กระจกเงาระนาบ เป็นกระจกเงาทำมุมเอียง 45องศา ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์เกลี่ยแสงสะท้อนเป็นมุม 90 องศา ผ่านเลนส์ฉายตรงไปที่จอ 
      2) ส่วนประกอบภายใน ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 
- หลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ติดตั้งไว้ในเครื่องฉาย ซึ่งมักทั่วไปเป็นหลอด ฮาโลเจนหรือหลอดคว้อตไอโอดีน 
- แผ่นสะท้อนแสง ทำหน้าที่ หักเหแสงออกทางด้านหลังของหลอดฉายให้กลับไปด้านหน้า ทำให้แสงมีความเข้มข้นมาก 
- เลนส์เกลี่ยแสง เป็นกระจกหรือพลาสติกใสมีร่องขนาดเล็กเต็มทั่วแผ่นสะท้อนไปที่เลนส์ฉายต่อไป 
- กระจกเงาสะท้อนแสง เป็นกระจกเงาติดตั้งไว่ภายในเครื่องฉาย เพื่อรับแสงจากหลอดฉาย 
- พัดลม ทำหน้าที่ ระบายความร้อนให้กับหลอดฉาย เรียกว่า เทอร์โมสตัท (thermostat)
  2.2 เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายสไลด์ เป็นทัศนูปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนหรือถ่ายทอดความรู้มาเป็นเวลานาน
         2.2.1 ประเภทของเครื่องฉายสไลด์ มี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์แบบฉายทีละภาพ และเครื่องฉายสไลด์แบบบรรจุภาพใส่ถาด
              1) เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา (manual slide projector) อาศัยการทำงานด้วยการควบคุมจากผู้ใช้งานตลอดเวลา มีทั้งเครื่องขนาดเล็กและเครื่องขนาดมาตรฐานทั่วไป
             2) เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ (automatic slide projector) เป็นเครื่องที่ออกแบบให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องบันทึกเสียงแบบสัมพันธ์ภาพและเสียงหรือ เครื่องควบคุมการฉายได้
       2.2.2 ส่วนประกอบของเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายสไลด์ทั่วไปมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนประกอบภายนอก และส่วนประกอบภายใน
             1) ส่วนประกอบภายนอก ได้แก่ ตัวเครื่องฉาย ร่องใส่ถาดสไลด์ ปุ่มสวิตช์ปิด-เปิด ช่องเสียบสายไฟ และช่องใส่เลนส์
            2) ส่วนประกอบภายใน ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง เลนส์รวมแสง เลนส์ฉาย พัดลม สะพานไฟ
  2.2.3 ประเภทของถาดบรรจุภาพสไลด์ ถาดใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละชนิดจะถูกออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องฉายโดยเฉพาะดังนีh
- ถาดสไลด์แบบเป็นราง (single slide carrier) ใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละไม่เกิน 2 ภาพ การเปลี่ยนภาพต้องใช้วิธี ดึงรางไปมาทิศทางซ้าย /ขวา รางแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบเก่าซึ่งเป็นเครื่องขนาดเล็ก
- ถาดสไลด์แบบรางแถวในกล่องสี่เหลี่ยม (rectangular tray) มีลักษณะคล้ายแถวขนนปัง บรรจุสไลด์ได้ครั้งละ 24 – 36ภาพ หรือมากกว่า การฉายต้องใส่รางเข้ากับด้านข้างของเครื่องฉาย รางแบบนี้สามารถบังคับให้เคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้ 
- ถาดสไลด์แบบกลม (rotary tray) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถบรรจุภาพสไลด์ได้ตั้งแต่ 80-140 ภาพ มีทั้งแบบวางเข้ากับเครื่องในแนวนอนด้านบนของเครื่องและวางแนวตั้งกับด้านข้างของเครื่อง ถาดสไลด์แบบนี้สามารถหมุนได้รอบตัว
   2.3 เครื่องฉายแอลซีดี
      เครื่องฉายแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) เป็นเครื่องฉายที่มีประโยชน์ต่อการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มากมีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย ปัจจุบันเครื่องแอลซีดีมีขนาดเล็กลงมากน้ำหนักเบา แต่มีความละเอียดและแสงสว่างมากขึ้น ราคาถูกลงกว่าเดิมมาก
 2.4 เครื่องดีแอลพี
     เครื่องดีแอลพี (DLP : Digital Light Processing) กิดานันท์มลิทอง ได้อธิบายถึงเครื่องดีแอลพีว่า เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัล ลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความคมชัดสูงกว่า ให้ความคมชัดมากถึง 1280x1024 จุด