2.2.1 ประเภทของเครื่องฉายสไลด์ มี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์แบบฉายทีละภาพ และเครื่องฉายสไลด์แบบบรรจุภาพใส่ถาด
1) เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา (manual slide projector) อาศัยการทำงานด้วยการควบคุมจากผู้ใช้งานตลอดเวลา มีทั้งเครื่องขนาดเล็กและเครื่องขนาดมาตรฐานทั่วไป
2) เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ (automatic slide projector) เป็นเครื่องที่ออกแบบให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องบันทึกเสียงแบบสัมพันธ์ภาพและเสียงหรือ เครื่องควบคุมการฉายได้
2.2.2 ส่วนประกอบของเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายสไลด์ทั่วไปมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนประกอบภายนอก และส่วนประกอบภายใน
1) ส่วนประกอบภายนอก ได้แก่ ตัวเครื่องฉาย ร่องใส่ถาดสไลด์ ปุ่มสวิตช์ปิด-เปิด ช่องเสียบสายไฟ และช่องใส่เลนส์
2) ส่วนประกอบภายใน ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง เลนส์รวมแสง เลนส์ฉาย พัดลม สะพานไฟ
2.2.3 ประเภทของถาดบรรจุภาพสไลด์ ถาดใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละชนิดจะถูกออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องฉายโดยเฉพาะดังนีh
- ถาดสไลด์แบบเป็นราง (single slide carrier) ใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละไม่เกิน 2 ภาพ การเปลี่ยนภาพต้องใช้วิธี ดึงรางไปมาทิศทางซ้าย /ขวา รางแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบเก่าซึ่งเป็นเครื่องขนาดเล็ก
- ถาดสไลด์แบบรางแถวในกล่องสี่เหลี่ยม (rectangular tray) มีลักษณะคล้ายแถวขนนปัง บรรจุสไลด์ได้ครั้งละ 24 – 36ภาพ หรือมากกว่า การฉายต้องใส่รางเข้ากับด้านข้างของเครื่องฉาย รางแบบนี้สามารถบังคับให้เคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้
- ถาดสไลด์แบบกลม (rotary tray) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถบรรจุภาพสไลด์ได้ตั้งแต่ 80-140 ภาพ มีทั้งแบบวางเข้ากับเครื่องในแนวนอนด้านบนของเครื่องและวางแนวตั้งกับด้านข้างของเครื่อง ถาดสไลด์แบบนี้สามารถหมุนได้รอบตัว
- ถาดสไลด์แบบเป็นราง (single slide carrier) ใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละไม่เกิน 2 ภาพ การเปลี่ยนภาพต้องใช้วิธี ดึงรางไปมาทิศทางซ้าย /ขวา รางแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบเก่าซึ่งเป็นเครื่องขนาดเล็ก
- ถาดสไลด์แบบรางแถวในกล่องสี่เหลี่ยม (rectangular tray) มีลักษณะคล้ายแถวขนนปัง บรรจุสไลด์ได้ครั้งละ 24 – 36ภาพ หรือมากกว่า การฉายต้องใส่รางเข้ากับด้านข้างของเครื่องฉาย รางแบบนี้สามารถบังคับให้เคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้
- ถาดสไลด์แบบกลม (rotary tray) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถบรรจุภาพสไลด์ได้ตั้งแต่ 80-140 ภาพ มีทั้งแบบวางเข้ากับเครื่องในแนวนอนด้านบนของเครื่องและวางแนวตั้งกับด้านข้างของเครื่อง ถาดสไลด์แบบนี้สามารถหมุนได้รอบตัว
2.3 เครื่องฉายแอลซีดี
เครื่องฉายแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) เป็นเครื่องฉายที่มีประโยชน์ต่อการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มากมีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย ปัจจุบันเครื่องแอลซีดีมีขนาดเล็กลงมากน้ำหนักเบา แต่มีความละเอียดและแสงสว่างมากขึ้น ราคาถูกลงกว่าเดิมมาก
2.4 เครื่องดีแอลพี เครื่องดีแอลพี (DLP : Digital Light Processing) กิดานันท์มลิทอง ได้อธิบายถึงเครื่องดีแอลพีว่า เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัล ลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความคมชัดสูงกว่า ให้ความคมชัดมากถึง 1280x1024 จุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น