1.3 วัสดุฉาย (Projected Materials)
วัสดุฉายเป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และสัญญาลักษณ์ ต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอ ได้แก่ ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส รูปภาพทึบแสง วัสดุฉายมีหลายชนิดดังนี้
1.3.1 วัสดุโปร่งใส (transparent materials) หมายถึงวัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้โดยไม่เกิดการหักเหหรือสะท้อนภายใน วัสดุนั้นเลย เช่น แผ่นโปร่งใส พลาสติกใส กระจกใส กระดาษแก้วเป็นต้น
1.3.2 วัสดุโปร่งแสง (translucent materials) หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้ แต่จะเกิดการหักเหบ้าง ทำให้ปริมาณของแสงสว่างลดน้อยลง ตัวอย่างวัสดุประเภทนี้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษทาน้ำมัน กระดาไขเขียนแบบ เป็นต้น
1.3.3 วัสดุทึบแสง (opaque materials) หมายถึงวัสดุที่แสงไม่สามารถส่องผ่านได้เลย แสงสว่างที่ตกกระทบจะสะท้อนกลับทั้งหมด เช่น กระดาษโรเนียว แผ่นโลหะ ไม้ หิน เสื้อผ้าหนาๆ แผ่นหนังสัตว์ ดินเหนียว
1.4 เลนส์ (Lens) เลนส์ เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้วหรือ พลาสติกใสมีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบเลนส์ทำให้ภาพถูกขยาย เลนส์ในเครื่องฉายมี 2 ชุด คือ เลนส์ควบแสง (condenser lens) และเลนส์ฉาย (projected lens)
1.4.1 เลนส์ควบแสง ทำหน้าที่เฉลี่ยความเข้มของแสงให้ตกบนวัสดุฉายอย่างสม่ำเสมอ ในชุดของเลนส์ควบแสงยังมีกระจกใสกรองความร้อน (heat filter) จากหลอดฉายป้องกันไม่ให้วัสดุฉายร้อนมากเกินไป
1.4.2 เลนส์ฉาย ทำหน้าที่ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่เต็มจอ คุณสมบัติพิเศษ 2 ประการคือ การกลับหัวภาพ (inversion) และระยะโฟกัส (focus length) ที่จำกัด กล่าวคือเลนส์ฉายแต่ละตัวจะให้ภาพคมชัดในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น
ภาพที่ฉายออกมาจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ ระยะโฟกัสของเลนส์ฉาย และระยะทางระหว่างเครื่องฉายกับจอ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพที่ปรากฏจึงทำได้โดยการเปลี่ยนเลนส์ให้มี ความยาวโฟกัสที่เหมาะสม และการเคลื่อนย้ายเครื่องฉายให้เข้าใกล้หรือออกห่างจากจอตามต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น