3. ไมโครโฟน (Microphone)
ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง โดยอาศัยหลักการง่ายๆ คือ เมื่อคลื่นเสียงมากระทบ แผ่นสั่นสะเทือน (Diaphragm) ทำให้แผ่นสั่นสะเทือนสั่นความถี่และความแรงของคลื่นเสียง สัญญาณ จาการสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงทันที
3.1 ประเภทของไมโครโฟน
เราสามารถจำแนกของไมโครโฟนได้ 2 รูปแบบ คือ จำแนกตามลักษณะทิศทางของ
3.1 ประเภทของไมโครโฟน
เราสามารถจำแนกของไมโครโฟนได้ 2 รูปแบบ คือ จำแนกตามลักษณะทิศทางของ
การรับเสียง และจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำไมโครโฟน
3.1.1 การจำแนกลักษณะทิศทางของการรับเสียงของไมโครโฟนมี 4ชนิด คือ
3.1.1 การจำแนกลักษณะทิศทางของการรับเสียงของไมโครโฟนมี 4ชนิด คือ
1) Omni Directional Microphone เป็นไมโครโฟนที่มีมุมรับเสียงได้รอบทิศทาง (360 องศา)
2) Unidirectional Microphone สามารถรับเสียงได้จากทางด้านหน้าทิศทางเดียว โดยมุมรับไม่เกิน 180 องศา
3) Cardioids Microphone เสียงได้ด้านหน้าทิศทางเดียวโดยบริเวณรับเสียงมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ
4) Bidirectional Microphone รับเสียงได้เฉพาะด้านหน้ากับด้านหลัง โดยมุมรับแต่ละข้างไม่เกิน 60 องศา
3.1.2 ไมโครโฟนจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำมี 6 ชนิด
1) Carbon Microphone ใช้ผงถ่านเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีคุณภาพต่ำ ความไวเสียงน้อย ปัจจุบันใช้กับเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น
2) Crystal Microphone ใช้ผลึกของเกลือเป็นตัวเปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าไมโครโฟนชนิดนี้ มีความไวน้อยไม่ทนทานต่อความร้อนและความชื้น
3) Ceramic Microphone มีหลักการเดียวกับ Crystal Microphone แต่เปลี่ยนวัสดุเซรามิคแทน ทำให้ทนต่อความร้อนและความชื้นได้ดีกว่า
4) Condenser Microphone มีหลักการคือแผ่น Diaphragm สั่นสะเทือน จะทำให้ค่าความจุเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวในการรับเสียงดี ขนาดเล็ก และราคาไม่แพง จึงนิยมนำมาใช้ในเครื่องเสียงทั่วๆไป
5) Ribbon Microphone ใช้แผ่นริบบิ้นอลูมิเนียมบางๆ เป็นตัวสร้างสัญญาณไฟฟ้าทำให้มีคุณภาพเสียงดีมาก แต่มีจุดอ่อนที่ค่อนข้างบอบบาง ไม่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนย้ายและมีราคาแพง จึงใช้ในห้องบันทึกเสียงใหญ่ๆ เท่านั้น
6) Dynamic Microphone ใช้ ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กถาวรเพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำเหมือนการทำงาน ของลำโพง ไมโครโฟนชนิดนี้ในคุณภาพรับเสียงดีแข็งแรงทนทาน มีตั้งแต่ราคาถูกถึงราคาแพง จึงนิยมใช้กันทั่วๆไป
3.2 อิมพีแดนซ์ (Impedance) ของไมโครโฟน อิมพีแดนซ์ หมายถึงความต้านทานที่เกิดขึ้นขณะมีสัญญาณหรือกระแสสลับไหลผ่านมีหน่วยเป็นโอห์ม ค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนมี 2 พวกคือ3.1.2 ไมโครโฟนจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำมี 6 ชนิด
1) Carbon Microphone ใช้ผงถ่านเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีคุณภาพต่ำ ความไวเสียงน้อย ปัจจุบันใช้กับเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น
2) Crystal Microphone ใช้ผลึกของเกลือเป็นตัวเปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าไมโครโฟนชนิดนี้ มีความไวน้อยไม่ทนทานต่อความร้อนและความชื้น
3) Ceramic Microphone มีหลักการเดียวกับ Crystal Microphone แต่เปลี่ยนวัสดุเซรามิคแทน ทำให้ทนต่อความร้อนและความชื้นได้ดีกว่า
4) Condenser Microphone มีหลักการคือแผ่น Diaphragm สั่นสะเทือน จะทำให้ค่าความจุเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวในการรับเสียงดี ขนาดเล็ก และราคาไม่แพง จึงนิยมนำมาใช้ในเครื่องเสียงทั่วๆไป
5) Ribbon Microphone ใช้แผ่นริบบิ้นอลูมิเนียมบางๆ เป็นตัวสร้างสัญญาณไฟฟ้าทำให้มีคุณภาพเสียงดีมาก แต่มีจุดอ่อนที่ค่อนข้างบอบบาง ไม่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนย้ายและมีราคาแพง จึงใช้ในห้องบันทึกเสียงใหญ่ๆ เท่านั้น
6) Dynamic Microphone ใช้ ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กถาวรเพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำเหมือนการทำงาน ของลำโพง ไมโครโฟนชนิดนี้ในคุณภาพรับเสียงดีแข็งแรงทนทาน มีตั้งแต่ราคาถูกถึงราคาแพง จึงนิยมใช้กันทั่วๆไป
3.2.1 High Impedance เป็นค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนชนิดผลึกและเซรามิค ซึ่งเป็นพวกที่มีราคาถูกตอบสนองต่อความถี่ไม่ดี ถ้าใช้สายยาวเกิน 25ฟุต จะมีเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมได้ง่าย
3.2.2 Low Impedance เป็นค่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนทั่วๆไป สามารถใช้สายยาวได้นับร้อยฟุตโดยไม่มีเสียงฮัม ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดี เหมาะที่จะใช้กับเครื่องขยายเสียงแบบทรานซิสเตอร์
3.3 การใช้ไมโครโฟน
3.3.1ควรพูดตรงด้านหน้าของไมโครโฟนให้ปากอยู่ห่าง ประมาณ 6-12นิ้ว
3.3.2 การทดลองไมโครโฟนไม่ควรใช้วิธีเป่าหรือเคาะให้พูดออกไปได้เลย
3.3.3 ควรจับไมโครโฟนให้มั่นคงและนิ่งไม่ควรแกว่งไปมาหรือบิดสาย
3.3.4 เมื่อติดตั้งไมโครโฟนกับขาตั้ง ควรวางขาตั้งบนผ้าปูโต๊ะหรือวัสดุนุ่มๆ
3.3.5 การใช้ไมโครโฟนในบริเวณที่มีลมพัดควรใช้ Wind Screen หรือผ้านุ่มๆ หุ้มรอบไมโครโฟน เพื่อลดเสียงลมให้น้อยลง
3.3.6ควรเลือกไมโครโฟนให้เหมาะกับงาน โดยพิจารณาทิศทางการรับเสียงความไวของไมโครโฟนและลักษณะการใช้งาน
3.3.7 เลือกใช้ไมโครโฟนที่ค่า Impedance เหมาะกับเครื่องขยายเสียง ถ้าเป็นไมโครโฟนชนิด High Impedance ไม่ควรใช้สายยาวเพราะจะทำให้มีเสียงรบกวน
3.3.8 อย่าให้ไมโครโฟนตกหรือกระทบกระแทก อย่าให้ถูกฝนและฝุ่น เมื่อใช้แล้วเช็ดทำความสะอาดและเก็บในกล่องให้มิดชิดทุกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น